1.3
วัตถุประสงค์ในการบริหารการผลิต
การบริหารการผลิตเป็นหนึ่งในหน้าที่หลักของการบริหารธุรกิจและองค์การอันมีพันธะกิจ
(Mission) คือผลกำไรที่ทำให้องค์การอยู่รอดและเจริญเติบโตได้ในระยะยาว
เมื่อมีการแยกพันธะกิจออกเป็นวัตถุประสงค์ของแต่ละหน้าที่หลักจะพบว่า
ฝ่ายการตลาด : วัตถุประสงค์หลัก คือ การขยายตัวของส่วนแบ่งตลาด (Market Share)
และความพึงพอใจของลูกค้า (Customer
Satisfaction)
ฝ่ายการเงิน :
วัตถุประสงค์หลักคือ ความสามารถในการทำกำไร (Profitability)
และการรักษาสภาพคล่องของธุรกิจ
(Liquidity)
ฝ่ายการผลิต :
วัตถุประสงค์หลัก คือ คุณภาพ (Quality) และผลิตภาพ
(Productivity)แต่แม้คุณภาพและผลิตภาพคือหัวใจของการผลิต
แต่วัตถุประสงค์ทั้งหมดของการผลิตจะมีดังต่อไปนี้
1.
การสร้างคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับคุณภาพที่กำหนดได้
2. การมีระดับต้นทุนที่ต่ำ
ซึ่งแสดงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
3.
การมีความสามารถที่จะส่งผลิตภัณฑ์ได้ทันเวลาที่กำหนดแก่ลูกค้า
4.
การมีความยืดหยุ่นที่จะปรับปริมาณการผลิตให้เพียงพอกับความต้องการของลูกค้าและสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป
คุณภาพ (Quality) เป็นวัตถุประสงค์หลักของการผลิตที่สำคัญที่สุด
เพราะการที่ลูกค้าซื้อผลิตภัณฑ์ย่อมต้องการสิ่งที่ตรงกับความคาดหมายของเขา
หรือถ้าได้ในสิ่งที่เหนือกว่าความคาดหมายก็ยิ่งพอใจมากขึ้น
คุณภาพครอบคลุมความหมายถึงประโยชน์ใช้สอย รูปร่างลักษณะที่ดึงดูดใจ
คุณค่าทางจิตใจที่ได้รับจากผลิตภัณฑ์
ฯลฯ
ผลิตภาพ (Productivity)
เป็นวัตถุประสงค์สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งของการบริหารการผลิต
เพราะผลิตภาพคือการเปรียบเทียบระหว่างปริมาณของปัจจัยนำเข้าและปริมาณของผลผลิตจากระบบการผลิต
ผลิตภาพ = ผลผลิต/ปัจจัยนำเข้า
อัตราการเจริญเติบโตของผลิตภาพ (Productivity growth) เป็นอัตราการเพิ่มในผลิตภาพจากช่วงเวลาหนึ่งไปยังอีกช่วงเวลาถัดไปที่ซึ่งมีความสัมพันธ์กัน อัตราการเจริญเติบโตของผลิตภาพ คือ การเปรียบเทียบระหว่างผลต่างของผลิตภาพของปีปัจจุบันกับผลิตภาพของปีก่อนหน้า และผลิตภาพของปีก่อนหน้า
อัตราการเจริญเติบโตของผลิตภาพ =
(ผลิตภาพของปีปัจจุบัน ผลิตภาพของปีก่อนหน้า) /
ผลิตภาพของปีก่อนหน้า
ตัวอย่าง ถ้าผลิตภาพเพิ่มจาก 100 ไปเป็น 120 ดังนั้นอัตราการเจริญเติบโตจะเป็น
(120-100) / 100 = 0.20 หรือ 20%
ผลิตภาพเป็นเกณฑ์วัดประสิทธิภาพของระบบการผลิต
และเป็นเกณฑ์วัดระดับมาตรฐานการครองชีพของประเทศเช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น
(GNP) ด้วย
การเพิ่มขึ้นของผลิตภาพเป็นสิ่งที่ผู้บริหารการผลิตให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก
เพราะจะสามารถทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยทั้งในด้านค่าแรงหรือค่าใช้จ่ายในการบริหารงานลดลง
อันจะช่วยให้การแข่งขันด้านราคากับคู่แข่งอื่นทำได้ง่ายขึ้น
หรือทำให้ผลกำไรขององค์การสูงขึ้น
การเพิ่มผลิตภาพทำได้หลายวิธีคือ
1. Efficient คือ
ผลผลิตเพิ่มขึ้นในขณะที่ปัจจัยนำเข้าเท่าเดิม
หรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
2.
Downsize คือ
ผลผลิตเท่าเดิมแต่ใช้ปัจจัยนำเข้าลดลง
3. Expand คือ ผลผลิตเพิ่มขึ้นเร็วกว่า
การเพิ่มขึ้นของปัจจัยนำเข้า
4. Retrench คือ
ผลผลิตลดลงแต่ช้ากว่าการลดลงของปัจจัยนำเข้า
5. Breakthroughs คือ ผลผลิตเพิ่มขึ้นในขณะที่ใช้ปัจจัยนำเข้าลดลง
| |
Copyright
@2002. Mae Fah Luang
University. The best view at 1024x768 pixel Hight 16 bit or better, support with IE 5.0 or later | |